1) รายงานการศึกษาดูงานกลุ่ม ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่
2) สื่อ Powerpoint การนำเสนอผลการศึกษาดูงาน ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่
วีดิทัศน์การศึกษาดูงาน ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดทำโดย
1. นางสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
2. นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
3. นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
4. นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
5. นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)
กลุ่มบริหารงานทั่วไป โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน 2,538 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 130 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว 127 ปี
วิสัยทัศน์
วิชาการล้ำ เชิดชูคุณธรรม ดำรงความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล บนพื้นฐานพอเพียง
ปรัชญา
เรียนดีเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ดำรงไทย
คำขวัญ
นวลฯ จะงาม นามจะดี ก็ที่ศิษย์
โรงเรียนแบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มบริหารวิชาการ 2. กลุ่มบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มบริหารงานบุคคล 4. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) สังกัดกลุ่มบริหารงานทั่วไป
โดยมีขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดังนี้
1) จัดทำทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ของงานโสตทัศนศึกษาให้เป็นปัจจุบัน
2) ประสานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการผลิตสื่อวิดิทัศน์และสื่ออื่น
3) จัดหาโสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงเรียนให้เพียงพอ
4) จัดระเบียบการใช้และเอกสารเผยแพร่รายชื่อสื่อให้สะดวกในการใช้บริการบันทึกเสียง ถ่ายภาพ วีดิโอ
เพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงผลงานการให้บริการครู บุคลากร และนักเรียน
5) ให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
6) ให้บริการห้องประชุมสำหรับการจัดกิจกรรม
7) ให้บริการด้านถ่ายภาพและถ่ายวีดิโอ
8) ให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
บุคลากร มีจำนวน 5 ท่าน จบการศึกษาตรงสาย
และบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด จำนวน 2 ท่าน
Strengths คือ จุดแข็ง
1) ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว เงินรายได้สถาน ศึกษา และเงินสวัสดิการ ในการสนับสนุนการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อให้มีความทันสมัย และพร้อมใช้ อยู่เสมอ
2) องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ได้แก่ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครองและครู เครือข่ายผู้ปกครอง ให้การสนับสนุน ทุนในการซ่อมแซมบำรุง วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นประจำทุกปี
3) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานจบตรงสายและบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสารการ
ศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้แก่ ตำแหน่ง ครูวิชาเอกโสตทัศนศึกษา ครูวิชาเอก
เทคโนโลยีทางการศึกษา ทำให้เข้าใจถึงขอบข่าย บทบาทหน้าที่ และสามารถทำงานให้เกิด
ประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์
4) มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยจัดศึกษาดูงานการให้บริการโสตทัศนศึกษา การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการบำรุงรักษา กับหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษากับโรงเรียนอื่นในสังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โรงเรียนวัดรางบัว กรุงเทพมหานคร โรงเรียนวัดประดู่ใน
ทรงธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
5) มีชุมนุมแกนนำนักเรียนโสตทัศนศึกษาทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายช่วยปฏิบัติงาน กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ทำให้งานตามขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดำเนินการไปได้ด้วยความรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์
Weaknesses คือ จุดอ่อน
1) โรงเรียนมีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างจากกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้การปฏิบัติงานบางครั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาเดิน และขนย้ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจกรรม
2) ข้อจำกัดทางด้านบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นครูตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการสอนตามที่สถานศึกษามอบหมาย ทำให้มีชั่วโมงในการสอนจำนวนมากพอสมควร บางครั้งกิจกรรมทับซ้อนกับคาบเรียน ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนในครั้งนั้นไป
3) การซ่อมแซมโสตทัศนูปกรณ์ที่เชื่อมถึงกัน เช่น เสียงตามสายระหว่างโรงเรียนทั้งสองพื้นที่ หากเกิดกรณีเสียหาย จะใช้เวลาในการซ่อมเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากระยะห่างที่อยู่ไกลกัน
Opportunities คือ โอกาส
1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการสอนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาใช้พัฒนาความสามารถของนักเรียนแกนนำโสตทัศนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ได้แก่ ค่ายพัฒนาทักษะความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล มหาวิทยาลัยสยาม (มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษากับโรงเรียนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ) ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การสนับสนุนทุนสำหรับส่งเสริมการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาทุกปี โดยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปศึกษาดูงาน เช่น การศึกษาดูงานการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ นำกลับมาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
2) สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรงบประมาณให้ครูในรูปแบบคูปองครูคนละ 10,000 บาท บุคลากรในหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) จึงมีโอกาสได้ลงทะเบียนคอร์สเรียนการตัดต่อภาพยนตร์และแอนิเมชั่น เพื่อสร้างเสริมทักษะการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลกับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
Treats คือ อุปสรรค
ในบางครั้งเมื่อหน่วยงานต้นสังกัด มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทำให้โครงการที่จะให้การสนับสนุนถูกชะลอออกไป ส่งผลและมีอุปสรรคต่อการจัดการเงินที่จะนำมาใช้บริหารโรงเรียนและงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป
จัดทำโดย
นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
นาวสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น